Zero Waste Society

Zero Waste Society คืออะไร ?

          หากแปลตรงตัว Zero เท่ากับ ศูนย์ และ Waste ก็หมายถึงขยะ ดังนั้น Zero Waste Society ก็เป็นอะไรที่แปลได้ตรงตัวเลยก็คือ สังคมไร้ขยะ นั่นเอง ซึ่งกระแส Zero Waste นั่นเริ่มขึ้นจากการเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และ มลภาวะต่าง ๆ จากขยะ ที่เกิดจากการบริโภคของมนุษย์ ซึ่งมากเกินกว่าจะกำจัดได้ ทำให้เกิดกระแส Zero Waste ขึ้นมาเพื่อมารณรงค์ให้ทุกคนใส่ใจเรื่องการทิ้งขยะในแต่ละวัน เพราะขยะในแต่ละวันของทุกคนนั้นคือปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพราะมีขยะบางประเภทที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ หรือ ใช้เวลาในการย่อยสลายนาน  ทำให้ขยะเหล่านั้นไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และ การอยู่อาศัยของสัตว์ในป่า และ มหาสมุทร จนเกิดภาพชวนหดหู่มากมาย อย่างภาพปูเสฉวนใช้กระป๋องแทนเปลือกหอย เต่าที่มีหลอดน้ำแทงอยู่ในรูจมูก และ อีกหลายภาพมากมายที่เป็นประเด็นในสังคมออนไลน์ปัจจุบัน

โดยหลักการของ Zero Waste นั้นก็มีอยู่ไม่กี่ข้อ และ ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเกินความเข้าใจ หลักการที่ว่าก็คือ 1A3R นั่นเอง ได้แก่

  • Avoid คือการหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดขยะเพิ่ม เช่นการไม่ซื้อของที่บรรจุมาในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ได้ครั้งเดียวแล้วต้องทิ้งเลย (ถุงแกงเป็นต้น) หรือก็คือ การใช้ชีวิตโดยพยายามผลิตขยะให้น้อยที่สุดนั่นเองค่ะ
  • Reduce การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะน้อยลง อย่างการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้กล่องข้าวแทนกล่องโฟม หรือมช้วัสดุที่คงทน สามารถใช้งานได้นาน และใช้ซ้ำได้ แทนพลาสติก Single use ที่ใช้ครั้งเดียวต้องทิ้งนั่นเองค่ะ
  • Reuse การนำสิ่งของต่าง ๆ กลับมาใช้ใหม่ ง่าย ๆ เลย อย่างการใช้กระดาษทั้งสองหน้าก็ถือว่าเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ การนำแก้วน้ำพลาสติกที่ได้มาเวลาซื้อน้ำ ซื้อกาแฟ มาใช้เป็นกระถางต้นไม้ การนำขวดน้ำมาทำเป็นที่ให้น้ำต้นไม้ เพื่อลดขยะ แถมยังลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
  • Recycle การหมุนเวียนนำหลับมาใช้ใหม่ อย่างเช่นการเอาเศษอาหารที่เรากินเหลือไปหมักเป็นปุ๋ยสำหรับผักในสวน

เรียกได้ว่าไม่มีอะไรยากและซับซ้อนเลยใช่ไหมคะ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำได้ เพราะต้องใช้ความมีระเบียบ ความมีความรับผิดชอบที่สูงมาก แต่หากทำได้สิ่งที่คุณช่วยคือ โลกใบนี้ ที่เป็นที่อยู่อาศัยของเรา เป็นบ้านของเรา รวมทั้งได้ช่วยชีวิตสัตว์อื่น ๆ  ที่ไม่รู้ประสีประสาอะไร และ ไม่ได้เป็นผู้ผลิตขยะ แต่ต้องมารับกรรมที่ไม่ก่อ ได้อีกด้วย ซึ่งการจะใช้ชีวิต Zero Waste เดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้วค่ะ เพราะปัจจุบันมีร้านที่ขายของ Zero Waste มากมายให้คุณได้เลือกใช้ เลือกรักษ์โลกกัน

พฤติกรรมการเลียนแบบในสังคม

พฤติกรรมการเลียนแบบในสังคม

พูดถึงพฤติกรรมของการเลียนแบบนั้น แน่นอนอยู่แล้วว่าในชีวิตมนุษย์เรานั้นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยตัวหลัก ๆ เลยนั้นก็คือ การเลียนแบบผ่านทางตาเรานี่เอง ที่จะส่งผลต่อความทรงจำเหล่านั้น รองลงมาก็คือหู ซึ่งตรงนี้เราจะมาคุยถึงลักษณะพฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กในแต่ละอย่างกันเลยครับ

ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบมีลักษณะอย่างไร

ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบจะแตกต่างไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ และเพศ พฤติกรรมการแสดงออกของเด็กสามารถสะท้อนความใส่ใจและการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมเขา ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็กมีลักษณะดังนี้ เช่น

  1. ลูกมีการใช้ภาษาแปลกๆ หรือวาจาผรุสวาส สบถ หรือศัพท์แสลง
  2. ชอบนำสิ่งของเครื่องใช้ติดที่ตัวมาใช้เป็นอาวุธทำร้ายผู้อื่น
  3. ติดอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เช่น ไอแพท ไอโฟน เกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  4. ชอบใช้วลีเด็ดตามละคร ตามการ์ตูน หรือใช้คำศัพท์ที่มีผู้คิดขึ้นใหม่ๆโดยไม่รู้ความหมาย
  5. ชูนิ้วกลางเพราะเคยเห็นในภาพยนตร์ต่างชาติ
  6. พูดบทสนทนาในเรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆที่ชื่นชอบ เช่น การ์ตูนตอนโปรด เกมการแข่งขันหรือการต่อสู้ที่เป็นฉากก้าวร้าวและกรีดร้องเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  7. ไม่ชอบทำความสะอาดอวัยวะร่างกายและไม่ชอบอาบน้ำเอง
  8. มีปัญหาพัฒนาการทางสมองและมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ลูกชายวัยสามขวบไม่โต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่น ขาดปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ดูการ์ตูนวันละหลายชั่วโมง ใช้คำพูดและภาษาที่แปลกประหลาด อีกทั้งยังพูดช้า ลูกสาววัยห้าขวบหัดแต่งหน้า ทำหน้าทำตาแปลกๆ ติดละคร ส่งเสียงร้องกรี๊ดๆเวลาไม่พอใจ ลูกชายวัยเก้าขวบชอบคบกับเพื่อนรุ่นพี่ ตามไปเล่นนอกบ้านและกลับบ้านผิดเวลา บางครั้งมีปัญหาการใช้กำลังกัน มีร่องรอยการถูกทำร้ายตามร่างกาย เป็นต้น
  9. มีพฤติกรรมรุนแรงอย่างคาดไม่ถึง เช่น ชกตีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน พกพาอาวุธไปโรงเรียน ผลักเพื่อนตกสระน้ำ เป็นต้น
  10. เด็กที่ไม่ได้รับการดูแลและสั่งสอนอย่างจริงจังในวัยเด็ก จะส่งผลโดยตรงมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวในวันข้างหน้าพฤติกรรมการแสดงออกที่ก้าวร้าวในวัยรุ่นนี้อาจเกิดจากการลอกเลียนแบบ (Imitation) เมื่อเขายังอยู่ในวัยเด็กเล็กเมื่อเขาเติบโตขึ้นและมีความคิดเป็นของตัวเอง พฤติกรรมซ้ำ ๆที่เขาได้มาจากการลอกเลียนแบบจะพัฒนาไปสู่การสร้างอัตลักษณ์อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวในที่สุด อัตลักษณ์ที่คงที่มีทั้งลักษณะที่ดีและไม่ดี ซึ่งเด็กแสดงออกให้เห็นถึงความชื่นชอบหรือความคลั่งไคล้ผ่านพฤติกรรม เช่น ในวัยเด็กชอบก้าวร้าวใช้กำลังโดยการทะเลาะและทำร้ายผู้อื่น เมื่อโตขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขกลายเป็นนักเลงมีพฤติกรรมเที่ยวทะเลาะวิวาท ใช้อาวุธทำร้ายผู้คนที่ไม่มีทางสู้ ไปจนถึงทำอันตรายจนผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

การปลูกฝังพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็กที่โรงเรียนถือเป็นสิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เพราะเด็กใช้ช่วงเวลาหนึ่งในสามของวันไปกับการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆ ในชั้นเรียน การเรียนรู้ทักษะภาษาและทักษะการคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ดังนั้นครูจึงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ